บทบันทึกชะตากรรมของคนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ “ลูมาด” (Lumad) ในดินแดนโมโร เกาะมินดาเนา (Mindanao) และ เกาะอื่นๆ ในเขตภาคใต้ของฟิลิปปินส์ที่ถูกกระทำย่ำยีมายาวนานหลายศตวรรษ ตั้งแต่ยุคผู้รุกรานอาณานิคมชาวสเปนที่ผลักดันให้พวกคริสเตียนจากเกาะลูซอนและเกาะวิสายาส์เข้ามาแทรกแซงอำนาจคนมุสลิมในท้องถิ่นและปล้นชิงทรัพยากรของคนพื้นเมืองเคยอาศัยอยู่มาก่อน จนถึงยุคการเปลี่ยนผ่านอำนาจไปยังมือของสหรัฐอเมริกาและภาครัฐบาลฟิลิปปินส์ยุคหลังประกาศเอกราช ความรุนแรงเชิงโครงสร้างก็ยังคงส่งผลกระทบต่อคนมุสลิมโมโรและคนพื้นเมืองอย่างต่อเนื่อง
ความพยายามเรียกร้องสิทธิการปกครองตนเองของคนมุสลิม ยังส่งผลให้เกิดการปราบปรามการก่อกบฏอย่างเหี้ยมโหดโดยกองกำลังทหารและกึ่งทหารฟิลิปปินส์ชุมชนคนลูมาดหลายหมื่นคนต้องประสบปัญหาทั้ง ด้านสังคมการเมืองเศรษฐกิจต้องหนีไปอาศัยในศูนย์อพยพหลายแห่งเพราะผู้นำถูกฆ่าหรือถูกจำคุกหรือโรงเรียนถูกโจมตีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นที่รับรู้ทั่วไปจนมีการรณรงค์ด้วยคำขวัญ “หยุดฆ่าคนพื้นเมือง/ชนกลุ่มน้อย” #stoplumadkillings อย่างกว้างขวางทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ตั้งแต่ปี 2015 มีการรณรงค์จัดงานประท้วงที่มีตัวแทนคนพื้นเมืองจากชุมชนต่างๆมาเข้าร่วม รวมถึงเกิดบทเพลงที่ให้กำลังใจคนลูมาด - เหยื่อของการถูกรัฐทำร้ายเหยื่อของการเลือกปฏิบัติและการกีดกันทั้งในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาและถูกกระทำอย่าง เป็นระบบในปัจจุบัน
เสียงเพลงที่คัดสรรมาเล่าถึงในรายการครั้งนี้อาทิ UNA, Amanakan Meupiya, On potok, Katribu Ko, Salupongan, Mindanow ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัยของอาเซียนที่เราอาจจะนึกย้อนไปถึงเหยื่อความรุนแรงในประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆก็ได้ความเหี้ยมโหดที่ผลิตและควบคุมโดยรัฐชาติและเครือข่ายรัฐ-กองทัพ-นักธุรกิจที่กระทำต่อชนกลุ่มน้อยในประเทศของตัวเอง