Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / คิดก่อนเชื่อ / รูปแบบการฉีดวัคซีนไขว้ ที่ WHO ยังงง ๆ อยู่ ตอนที่ 2
18:51
รูปแบบการฉีดวัคซีนไขว้ ที่ WHO ยังงง ๆ อยู่ ตอนที่ 2
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
รูปแบบการฉีดวัคซีนไขว้ ที่ WHO ยังงง ๆ อยู่ ตอนที่ 2
วันที่เผยแพร่ : 17 ก.ย. 64
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์

วัคซีนต่างประเภทกัน (เชื้อตาย ไวรัลเวกเตอร์ โปรตีนซับยูนิต เอ็ม-อาร์เอ็นเอ) มีผลต่อระดับหรือประเภทของภูมิคุ้มกันหรือไม่
•    แพทย์ผู้หนึ่งให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ทางหนังสือพิมพ์ว่า ระบบภูมิคุ้มกันในตัวเรา จะมีเซลล์ 2 กลุ่ม คือ เม็ดเลือดขาว บีเซลล์ และทีเซลล์ 
o    “บีเซลล์”จะจัดการเชื้อต่างๆ โดยการสร้างแอนติบอดีออกมาคอยจับเชื้อทำให้เชื้อไม่สามารถเข้าไปก่อเรื่องในเซลล์ทำให้เซลล์ไม่ติดเชื้อ โดยวัคซีน mRNA และเชื้อตายจะทำงานตรงส่วนนี้ได้ดี 
o    ขณะที่ “ทีเซลล์” หน้าที่ คือ เมื่อไหร่มีการติดเชื้อ ทีเซลล์จะไปกำจัดการติดเชื้อ วัคซีนที่ทำให้ทีเซลล์ทำหน้าที่ได้ดี คือ วัคซีนไวรัลเวคเตอร์ (เช่น Ad5-N ซึ่งเป็น adenovirus ซึ่งกระตุ้นให้มีการสร้างโปรตีนเปลือกหรือ viral capsid ของ SARS-CoV-2) ทำให้เซลล์ทำงานได้ดี
o    อย่างน้อยในขณะนี้มี  4 โรงเรียนแพทย์กำลังทำการศึกษาวัคซีนไขว้กันหลายคู่ เพราะหากไม่มีงานวิจัยรองรับการสลับวัคซีนก็ไม่เป็นระบบ ซึ่งหากผลออกมาคล้ายคลึงกับในต่างประเทศ นโยบายการฉีดวัคซีนไขว้น่าจะเป็นที่ยอมรับ (ประเด็นสำคัญคือ ถ้าผลออกมาดีจะสามารถอธิบายกระบวนการได้หรือไม่ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง)
o    การฉีดเข็ม 3 ในทางทฤษฎี น่าจะเป็นกลุ่มกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน “ทีเซลล์” แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้จีนกำลังศึกษาว่า เข็ม 3 ที่เป็นเชื้อตายจะได้ผลหรือไม่ ทั้งหมดนี้ WHO ยังไม่ได้บอกว่ามีความจำเป็นในเข็ม 3 หรือไม่ อยู่ในดุลยพินิจของแต่ละประเทศในการบริหารจัดการ เพราะการบริหารจัดการไม่ใช่แค่ฉีดแต่อยู่ที่ว่ามีวัคซีนหรือไม่ และมีการเก็บข้อมูลเพื่อจะได้รู้ว่ามีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน

ฟังต่อใน คิดก่อนเชื่อ 
 

ผู้จัดรายการ
วิทยากร
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป