EP. 110: ทำบุญปล่อยปลาแบบไหน ได้บุญได้บาป
วันที่เผยแพร่ : 19 เม.ย. 63
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์
ปล่อยปลาอย่างไรให้ได้บุญ
- ไม่ปล่อยสัตว์ต่างถิ่น หรือ เอเลียนสปีชีส์
- ไม่ปล่อยในปริมาณที่มากจนเกินไป
- คัดเลือกสถานที่ปล่อยให้เหมาะสมกับชนิดของปลา
- ควรปล่อยในแหล่งน้ำตื้นหรือลึกระดับปานกลาง (ระดับเอวถึงหน้าอก)
- ไม่ปล่อยในแหล่งที่มีน้ำเชี่ยว
- ปล่อยในแหล่งที่มีพืชน้ำ เพื่อเป็นที่หลบภัย, อาหาร หรือเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
- ปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีการไหลเวียนของน้ำ หรือที่มีน้ำสะอาด
สัตว์น้ำสายพันธุ์ไทยที่ควรปล่อยทำบุญ
ปลาที่แนะนำให้ปล่อยในแหล่งน้ำของประเทศไทย ควรเป็นปลาพื้นเมืองของไทย เช่น ปลาตะเพียนขาว, ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ, ปลาสร้อยขาว, ปลาหมอไทย, ปลายี่สกไทย, ปลากราย, ปลาโพง และปลาบึก
สัตว์น้ำตามความเชื่อที่ไม่ควรปล่อยเด็ดขาด (เอเลี่ยน สปีชีย์) เช่น ปลาดุกอัฟริกัน หรือปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย), กุ้งเครย์ฟิซ, เต่าญี่ปุ่นหรือเต่าแก้มแดง, ปลาหางนกยูง, ปลากดเกราะดำและปลากดเกราะลาย, ตะพาบไต้หวัน, ปลาทับทิม, ปลานิล และปลาหมอสีคางดำ
**ปลาเศรษฐกิจบางชนิดเหมาะสำหรับเลี่ยงแบบบ่อปิดเท่านั้น เช่น ปลานิล, ปลาทับทิม, ปลาหางนกยูง หรือปลาดุกบิ๊กอุย
ความคิดเห็น ()
ตอนถัดไป
ตอนที่เกี่ยวข้อง
คลิปเสียงถัดไป
Copy to clipboard