บทความ / เครือข่ายอวกาศห้วงลึก เครื่องมือชิ้นสำคัญเบื้องหลังการสำรวจอวกาศ
Sci & Tech
เครือข่ายอวกาศห้วงลึก เครื่องมือชิ้นสำคัญเบื้องหลังการสำรวจอวกาศ
22 ม.ค. 66
991
รูปภาพในบทความ เครือข่ายอวกาศห้วงลึก เครื่องมือชิ้นสำคัญเบื้องหลังการสำรวจอวกาศ

แม้ว่าเราจะสามารถส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมไปสำรวจพื้นที่อันกว้างใหญ่ห้วงอวกาศได้ไกลมากเพียงใด แต่ถ้าหากเราไม่มีตัวกลางในการติดต่อกับยานสำรวจเหล่านั้น โครงการเหล่านี้คงไม่สามารถดำเนินต่อหรือสำเร็จลุล่วงไปได้ ตัวกลางนั้นก็คือ “ระบบสื่อสารภาคพื้นดิน”

หนึ่งในระบบสื่อสารภาคพื้นดินที่สำคัญที่สุดในวงการสำรวจอวกาศคือ เครือข่ายอวกาศห้วงลึกหรือ Deep Space Network (DSN) ซึ่งเป็นเครือข่ายของสถานีจานวิทยุภาคพื้นดินในความรับผิดชอบของ NASA Jet Propulsion Laboratory (JPL) ห้องปฏิบัติการอวกาศอันเลื่องชื่อของนาซา

หากลองจินตนาการว่ามีวัตถุชิ้นหนึ่งที่มนุษย์ส่งขึ้นไปในอวกาศ การติดต่อสื่อสารกับวัตถุชิ้นนี้มนุษย์จำเป็นต้องมีสถานีติดต่อที่หันหน้าเข้าบริเวณนั้นบนน่านฟ้า แต่การหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้พื้นที่ติดต่อของสถานีเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงของวัน ทำให้โครงการ DSN ไม่ได้ประกอบด้วยเพียงแค่สถานีจานวิทยุเพียงแห่งเดียว แต่เป็นเครือข่ายของสถานีวิทยุสามแห่งที่ตั้งกระจายกันอยู่รอบโลก โดยในหนึ่งช่วงเวลาสถานีแต่ละแห่งจะรับผิดชอบอาณาบริเวณ 120 องศาของน่านฟ้า ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะเป็น 360 องศาครอบคลุมทั่วน่านฟ้า ทำให้ DNS สามารถติดต่อกับยานอวกาศใด ๆ ได้ตลอดเวลา ไม่ว่ายานลำนั้นจะอยู่บริเวณใดบนน่านฟ้าก็ตาม

เครือข่ายอวกาศห้วงลึก 3 แห่ง ได้แก่

  • Goldstone Deep Space Communications Complex (GDSCC) ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
  • Madrid Deep Space Communications Complex (MDSCC) ในประเทศสเปน
  • Canberra Deep Space Communications Complex (CDSCC) ในประเทศออสเตรเลีย

นับตั้งแต่การเริ่มต้นโครงการในปี 1958 จนถึงปัจจุบัน โครงการ DSN ได้ถูกใช้ในหลายโครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการ Apollo, Voyager, Galileo, Juno, New Horizons ฯลฯ ทั้งในแง่การติดต่อสื่อสารและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ นับเป็นหนึ่งในวัตถุสำคัญที่เป็นเบื้องหลังความสำเร็จของงานอวกาศอย่างแท้จริง


ฟังเพิ่มเติมได้ที่พอดคาสต์ Starstuff เรื่องเล่าจากดวงดาว ตอน “Space Communication 101”

แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป