Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / คิดก่อนเชื่อ / พันธุกรรมน่าจะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 จริงหรือ
15:13
พันธุกรรมน่าจะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 จริงหรือ
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
พันธุกรรมน่าจะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 จริงหรือ
วันที่เผยแพร่ : 31 ธ.ค. 63
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์

•   ทีมนักวิจัยจาก คิงส์คอลเลจ ลอนดอน ของสหราชอาณาจักร เผยแพร่บทความเรื่อง Self-reported symptoms of covid-19 including symptoms most predictive of SARS-CoV-2 infection, are heritable ตีพิมพ์ใน medRxiv ปี 2020 ระบุว่า ปัจจัยทางพันธุกรรมสามารถใช้อธิบายความแตกต่างในความเสี่ยงของการเกิดโรคโควิด-19 ที่ผู้ติดเชื้อแต่ละคนแสดงออกมาไม่เหมือนกันได้ถึงราว 50% 
o   การศึกษาในสหราชอาณาจักรทำในฝาแฝดแท้ซึ่งเป็นเพศเดียวกัน 2,633 คู่ เทียบกับคนที่เป็นฝาแฝดเสมือนประกอบด้วย หญิง 2,288 คนและชาย 345 คน โดยใช้แอป Covid Symptom Tracker ติดตามดูว่า ในแต่ละวันมีอาการของ C-19 Covid คือ ไข้ ไอแห้ง หายใจถี่ หายใจลำบาก เมื่อยล้า 
o   ทีมผู้วิจัยพบว่า แฝดแท้ซึ่งมีพันธุกรรมเหมือนกัน 100 % มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการป่วยหรือไม่เกิดอาการป่วยจากโรคโควิด-19 เหมือนกัน โดยความเหมือนนี้อยู่ในอัตราที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มแฝดเสมือนซึ่งมีพันธุกรรมเหมือนกันเพียง 50% เท่านั้น แสดงว่ามีความเป็นไปได้สูงที่พันธุกรรมจะเป็นปัจจัยกำหนดความแตกต่างในเรื่องนี้
o    ตัวอย่างพี่น้องฝาแฝดแท้ชาวอังกฤษ ชื่อ เคทีและเอ็มมา เดวิส เสียชีวิตเพราะโรคโควิด-19 ในเวลาห่างกันไม่กี่ชั่วโมง
o    อย่างไรก็ดีมีการแสดงออกของอาการโรคโควิด-19 บางอย่างเท่านั้นที่ถูกกำหนดโดยอิทธิพลของพันธุกรรม เช่นอาการไข้ ท้องเสีย เพ้อและสับสน หรือสูญเสียความสามารถในการรับกลิ่น-รส ในขณะที่อาการอย่างเช่น ไอ เสียงแห้ง เจ็บหน้าอก ปวดท้อง หรือเบื่ออาหาร ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมแต่อย่างใด

มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกบ้าง ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ใน คิดก่อนเชื่อ

ผู้จัดรายการ
วิทยากร
ตอนที่เกี่ยวข้อง
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป