บทความ / มนุษย์ คอมพิวเตอร์ เอไอ และอวกาศ
Sci & Tech
มนุษย์ คอมพิวเตอร์ เอไอ และอวกาศ
07 พ.ย. 66
1,080
รูปภาพในบทความ มนุษย์ คอมพิวเตอร์ เอไอ และอวกาศ

หนึ่งในโปรเจกต์ที่ "พีพี" - พัทน์ ภัทรนุธาพร นักวิจัยอนาคตแห่ง MIT Media Lab สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตต์​ สหรัฐอเมริกา ได้ร่วมทำงานมากว่า 3 ปีแล้ว คือการจัดการประชุม SpaceCHI ที่เปิดให้นักวิจัยจากหลากหลายศาสตร์ ส่งผลงานมาแลกเปลี่ยนในหัวข้อ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ในบริบทของอวกาศ ภายใต้การประชุมอันโด่งดังของสายคอมพิวเตอร์อย่าง ACM CHI (เอซีเอ็ม ไค) Conference on Human Factors in Computing Systems ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

งานประชุม CHI เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982 เป็นยุครุ่งอรุณของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่ทรานซิสเตอร์และส่วนประกอบทางไฟฟ้าอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์มีราคาลดลงจากทศวรรษก่อนหน้านี้ ทำให้บทบาทของคอมพิวเตอร์เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ จากตู้โลหะขนาดใหญ่ราคาสูงลิ่วที่ใช้งานเฉพาะผู้เชี่ยวชาญในบริษัทขนาดใหญ่ สู่การเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่รุกคืบใช้งานในครัวเรือน จนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในทุกวันนี้

ช่องว่างที่เล็กลงระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สายงาน HCI (Human-Computer Interaction) ที่ศึกษาบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการประชุม CHI ได้รับความสนใจมากขึ้นทุกปี และต่อยอดไปสู่สายงานต่าง ๆ รวมไปถึงการสำรวจอวกาศ

พีพี - พัทน์ ภัทรนุธาพร ขณะนำเสนอการวิจัย

3 ปีของการจัดงาน SpaceCHI ของ “พีพี” ทีมนักวิจัยที่ MIT Media Lab และหน่วยงานพันธมิตรอีกมากมาย เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานที่น่าสนใจต่าง ๆ มากมาย ทั้งในแง่วิทยาศาสตร์กายภาพที่ต้องการใช้เทคโนโลยีประกอบเข้ากับร่างกายนักบินอวกาศ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักบินอวกาศในสภาวะที่แปลกประหลาดนอกโลก การควบคุมและการติดต่อสื่อสารที่กว้างไกลไปกว่าหลักการการสื่อสารที่พบได้ในการวิจัยสายวิทยาการคอมพิวเตอร์คลาสสิก ไปสู่งานข้ามศาสตร์ที่คาบเกี่ยวถึงการศึกษาด้านจิตวิทยา จริยธรรม ปัญญาประดิษฐ์ ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีในหลากหลายทางเพื่อทำให้สภาพแวดล้อมของ "ยานอวกาศ" หรือ "ที่อยู่อาศัยต่างดาว" เป็นมากกว่าสิ่งประดิษฐ์ล้ำสมัยที่ไร้วิญญาณและเป็นสิ่งที่มนุษย์นอกพื้นโลกจะเรียกมันว่า "บ้าน” ได้อย่างสนิทใจ

 

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เพื่อการสำรวจอวกาศ

Starstuff เรื่องเล่าจากดวงดาว ตอน "AI Singularity ไดโนเสาร์: พูดคุยกับ "พีพี" นักนวัตกรรมอนาคตจาก MIT Media Lab ตอนที่ 2" เติ้ล - ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน และ ปั๊บ - ชยภัทร อาชีวระงับโรค ชวนคุยกับ “พีพี” ที่แวะกลับมาประเทศไทย ร่วมบอกเล่า และวิเคราะห์ก้าวต่อไปของความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเติบโตระลอกใหม่ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือแนวคิดของมนุษย์ในระยะยาวที่มากไปกว่าการเป็นเครื่องมือสร้างข้อความและรูปภาพในปัจจุบัน

ชวนฟังการสนทนาที่ชวนกระตุกจิตกระชากใจอันเข้มข้นกับ “พีพี” จากโครงกระดูกไดโนเสาร์ เวทย์มนต์ AI ไปถึงการข้ามเวลา และข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการเข้าสู่ Singularity ของสังคมมนุษย์ ใน Starstuff เรื่องเล่าจากดวงดาว พูดคุยกับ "พีพี" นักนวัตกรรมอนาคตจาก MIT Media Lab ทั้งสองตอนทาง Thai PBS Podcast

 


ฟังรายการได้ทาง


 

แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป