กรณีกระทรวงสาธารณสุขมอบนโยบายให้โรงพยาบาลใช้ยาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน จำนวน 55 รายการ ทำให้หลายโรงพยาบาลมีความกังวล เพราะตอนนี้ยาแผนปัจจุบันหลายตัวถูกถอดจากโรงพยาบาลแล้ว บังคับให้แพทย์แผนปัจจุบันใช้สมุนไพรในการรักษาคนไข้แทน ทั้งที่ไม่เคยเรียน เรื่องขนาดยา ผลข้างเคียง และกลไกการออกฤทธิ์ และยังถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัด (KPI) ของโรงพยาบาลด้วย
มีการสะท้อนความคิดเห็นในแง่การรักษาคนว่า การยกเลิกยาแผนปัจจุบันทิ้งไปเลย แต่ให้ไปเลือกใช้สมุนไพรแทน อาจยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งที่สำคัญเลยก็คือความรู้แพทย์แผนปัจจุบันเอง แพทย์แผนปัจจุบัน เรียนและเชี่ยวชาญในการรักษาแผนปัจจุบัน ส่วนแพทย์แผนไทยก็เรียนเรื่องสมุนไพร เชี่ยวชาญการรักษาแบบแผนไทย ซึ่งปัจจุบันใน โรงพยาบาลก็มีแพทย์แผนไทยโดยตรงอยู่แล้ว ก็ให้คนไข้ตัดสินใจเองว่าจะเลือกรับยาแบบไหน ถ้าเลือกรับยาสมุนไพรก็ส่งต่อให้แพทย์แผนไทยเป็นผู้สั่งจ่ายยาเพราะชำนาญมากกว่า
ซึ่งคุณสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า จ่ายยาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบันในยาพื้นฐาน ช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาไทยเรื่องสมุนไพร ไม่ได้บังคับ รพ. เพียงแต่เป็นทางเลือก ไม่กำหนดให้เป็น KPI แต่ให้รางวัลกับโรงพยาบาลที่สามารถจ่ายยาสมุนไพรได้มากเท่านั้น
จากประเด็นนี้ ต้องมาดูกันแต่ละส่วน คือ
1.ความรู้ความเชี่ยวชาญของแพทย์ ใครควรเป็นผู้สั่งจ่ายยาสมุนไพร เพื่อผลการรักษาที่ตรงกับโรค การติดตามหลังการรักษา
2.คุณสมบัติของยาแผนปัจจุบัน และยาสมุนไพร ปัจจุบันวางใจได้แค่ไหน
3.จะสามารถพัฒนาระบบการรักษาและการจ่ายยาร่วมกันได้อย่างไร
มาฟังในมุมของเภสัชกรกันบ้าง
จาก ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
ผู้จัดการแผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา กับ ชนาธิป ไพรพงค์
ตอน เนื้อสัตว์นำเข้ากับเนื้อในประเทศแบบไหนปลอดภัยกว่ากัน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อนำเข้าจากต่างประเทศ)