บทความ / “รามยอน” จากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปธรรมดาสู่อาหารเกาหลียอดนิยมของชาวเกาหลีใต้
Pop Culture
“รามยอน” จากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปธรรมดาสู่อาหารเกาหลียอดนิยมของชาวเกาหลีใต้
05 เม.ย. 67
1,948
รูปภาพในบทความ “รามยอน” จากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปธรรมดาสู่อาหารเกาหลียอดนิยมของชาวเกาหลีใต้

รามยอน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเกาหลีที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก สังเกตได้จากยอดขายสินค้าส่งออกที่พุ่งสูงกว่า 27,242 ล้านบาท นอกจากนี้ รามยอนถือเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งของชาวเกาหลีใต้ เนื่องจากคนเกาหลีกินรามยอนคนละประมาณ 70-90 ครั้งต่อปี

รามยอนเกิดขึ้นจากวิกฤติขาดแคลนอาหาร

จุดกำเนิดของรามยอนเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1963 ในขณะนั้นเกาหลีใต้ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก เนื่องด้วยสงครามเกาหลีที่สิ้นสุดลง อีกทั้งประชาชนยังพบเจอกับวิกฤตขาดแคลนอาหาร ทำให้ ซัมยาง (Samyang) บริษัทผู้ผลิตอาหารที่มีชื่อเสียงของเกาหลี ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1961 (หรือผู้ผลิตรามยอนรายแรกของประเทศ) ได้เข้ามาช่วยเติมเต็มช่องว่างในวิกฤตินี้ ด้วยการผลิตแหล่งข้าวแห่งที่ 2 ให้กับประเทศ ซึ่งก็คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พร้อมกับน้ำซุปแดงในปริมาณ 120 กรัม ซึ่งขายในราคา 10 วอนเท่านั้น โดยเส้นรามยอนทำจากแป้งสาลี ไข่ น้ำและเกลือ ทำให้เส้นหนานุ่ม แต่ต้องต้มนานกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอื่น ๆ อีกทั้งส่วนผงปรุงรสส่วนใหญ่ยังเป็นซุปเนื้อวัว เนื่องจากเนื้อวัวถือเป็นของแพง ทำให้รามยอนก็กลายเป็นอาหารคู่ครัวคนเกาหลีใต้มาจนถึงทุกวันนี้

อิทธิพลจากสื่อบันเทิงเกาหลีผลักดันให้ผู้คนสนใจอาหารเกาหลีกันมากขึ้น

เมื่อวัฒนธรรมเกาหลีได้รับความนิยมผ่านอิทธิพลสื่อบันเทิง ทำให้ต่างประเทศหันมานิยมรับประทานอาหารเกาหลีตามกันมากขึ้น แต่จุดเปลี่ยนที่ส่งผลให้รามยอนเป็นที่นิยมอย่างชัดเจนที่สุดมาจาก การนำเสนออาหารเกาหลีถ่ายทอดไปในซี่รีส์หรือภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น ซีรี่ส์ดังอย่างเรื่อง What’s Wrong With Secretary Kim หรือแม้แต่ภาพยนตร์ที่เป็นที่รู้จักอย่างเรื่อง Parasite ก็มีฉากที่ตัวละครต้มรามยอนมากินกัน

นอกจากนี้ มาตรการกักตัวในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้รามยอนเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอีกด้วย เนื่องจากผู้บริโภคทั่วโลกนิยมซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกักตุนไว้กินกันมากขึ้น โดยมีรายงานว่า เกาหลีใต้ส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นกว่า 28% ตีเป็นมูลค่ากว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศรายใหญ่ที่นำเข้ารามยอน คือ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไต้หวัน

รามยอนประสบความสำเร็จในสินค้าทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก แต่ทำไม “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ในภาพลักษณ์คนไทยกลับเป็นอาหารคนจน

The Active Podcast กับ ซีรีส์ taekook lives อะไร ๆ ก็เกาหลี ! ชวนมองอิทธิพลของอาหารเกาหลีในยุคที่อะไร ๆ ก็ Soft Power กับ พรพรรณ จันทร์นุ่ม อาจารย์สาขาวิชาภาษาเกาหลีเชิงธุรกิจ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในรายการ The Active Podcast EP.168 ส่องพลังที่โลกหลงรักอาหารเกาหลี

 


ฟังรายการได้ทาง


 

แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป