Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / คิดก่อนเชื่อ / ปัจจัยเสริมอันตรายของ COVID-19 คือฝุ่น PM 2.5 จริงหรือ
12:02
ปัจจัยเสริมอันตรายของ COVID-19 คือฝุ่น PM 2.5 จริงหรือ
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
ปัจจัยเสริมอันตรายของ COVID-19 คือฝุ่น PM 2.5 จริงหรือ
วันที่เผยแพร่ : 17 ก.พ. 64
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์

สภาวะที่เกิดขึ้นทางสิ่งแวดล้อมเช่น ฝุ่นในอากาศก่อนการระบาดของโรคเช่น COVID-19 นั้น ดูมีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือ COVID-19

มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง 

•  บทความเรื่อง Exposure to air pollution and COVID-19 mortality in the United States. ตีพิมพ์ในวารสาร medRxiv ของปี 2020 ได้อธิบายถึงงานวิจัยที่ดูค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอากาศของช่วงปี 2000 ถึงปี 2016 ของ 3080 counties (ครอบคลุมราวร้อยละ 98 ของพลเมืองในสหรัฐอเมริกา) ต่อจำนวนการตายของประชาชนเนื่องจาก COVID-19  ถึงวันที่ 4 เมษายน 2020

    o งานวิจัยกล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของฝุ่น PM 2.5 ในอากาศเพียง 1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร มีความเกี่ยวข้องในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการตายด้วย COVID-19 ถึงร้อยละ 15 (ของประชากร 60 ล้านคนที่อยู่ในระบบ medicare)

    o ผลของงานวิจัยได้มุ่งย้ำว่า การดูแลมลภาวะในอากาศนั้น มีความสำคัญมากต่อการบริหารการป้องกันอันตรายจาก COVID-19 ทั้งปัจจุบันและอนาคต

•   ในอดีตครั้งที่มีปัญหาโรคระบาด SARS ในจีนนั้น เมื่อโรคสงบลงได้มีการทำวิจัยถึงความสัมพันธ์ระหว่าง มลภาวะทางอากาศและความเสี่ยงในการตายของคนไข้ SARS  ซึ่งผลการศึกษานั้น ได้ตีพิมพ์ในวารสาร BioMed Central ในปี 2003 ในชื่อเรื่อง Air pollution and case fatality of SARS in the People's Republic of China: an ecologic study 
   o  สาระสำคัญของงานวิจัยคือ  ในช่วงการระบาดของโรคนั้น มีคน (น่าจะติดเชื้อ SARS) ป่วยราว 5,327 คน แล้วตาย 349 คน ซึ่งสามารถคำนวณได้ว่า คนที่ตายนั้นอยู่ในพื้นที่ที่มีค่า API (air pollution index) ปานกลาง มีความเสี่ยงในการตายสูงกว่าคนที่อยู่ในพื้นที่มีค่า API ต่ำราวร้อยละ 84
แล้วมีคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างไรบ้าง

 

ผู้จัดรายการ
วิทยากร
ตอนที่เกี่ยวข้อง
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป