บทความ / อันตรายถึงชีวิต กับอาการฮีทสโตรก ที่มากับความร้อน
Health
อันตรายถึงชีวิต กับอาการฮีทสโตรก ที่มากับความร้อน
09 พ.ค. 63
6,434
รูปภาพในบทความ อันตรายถึงชีวิต กับอาการฮีทสโตรก ที่มากับความร้อน

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เกิดจากความผิดปกติในร่างกาย เมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นจากการเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง เช่น การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ, เด็ก, คนที่พักผ่อนไม่เพียงพอ, ดื่มแอลกอฮอล์จัด, เป็นโรคเบาหวาน, มีภาวะความดันโลหิต, โรคหัวใจ, โรคปอด, อยู่ในช่วงการกินยาขับปัสสาวะ และบางอาชีพที่ต้องอยู่กลางแจ้ง เช่น กรรมกร,​ เกษตรกร, ทหาร, ตำรวจจราจร ฯลฯ

สัญญาณเตือนก่อนเกิดฮีทสโตรก (Heat Exhaustion)

  1. วิงเวียนศีรษะ มึนงง
  2. หัวใจเต้นเร็วแต่เบา หายใจเร็วกว่าปกติ
  3. คลื่นไส้ อาเจียน (บางคน)
  4. กระหายน้ำมาก
  5. หน้าแดง ตัวร้อนจัด และเหงื่อออกมาก

เมื่อเกิดสัญญาณเตือน ให้ปฏิบัติตัวดังนี้

  1. หยุดทำกิจกรรมทุกอย่างแล้วรีบเข้าที่ร่มทันที
  2. ทำร่างกายให้เย็นด้วยการเปิดพัดลม แต่กรณีเข้าห้องที่มีแอร์ ให้เปิดพัดลมร่วมด้วย 
  3. จิบนำ้เย็นหรือน้ำธรรมดาบ่อย ๆ ห้ามดื่มรวดเดียว
  4. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเข็ดตามด้วยด้วยการเช็ดย้อนรูขุมขน

ปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดอาการฮีทสโตรก (Heat Stroke)

  1. อุณหภูมิในร่างกายจะค่อย ๆ สูงขึ้นจนถึงระดับ 40 องศาเซลเซียส
  2. ผิวหนังจะเริ่มแห้ง แดงและร้อนจัด
  3. รูขุมขนจะปิดทันที จนไม่สามารถระบายเหงื่อและความร้อนได้
  4. เกิดอาการตะคริว กล้ามเนื้อเริ่มอ่อนแรงหรือเกร็ง
  5. เริ่มไม่มีแรง หน้ามืด อ่อนเพลีย
  6. ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  7. ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
  8. เป็นลม หมดสติ
  9. ฮีทสโตรกเป็นอันตรายอย่างมากกับผู้ที่มีภาวะโรคไต หรือไตวาย 

 

คนรอบข้างหรือใกล้ชิด สามารถสังเกตอาการของคนที่เริ่มจะมีอาการฮีทสโตรก โดยจะเริ่มมีอาการหงุดหงิดจากความร้อน พูดจาสับสนไม่รู้เรื่อง และมีอาการมึนงง

 

การปฐมพยาบาลคนที่มีอาการฮีทสโตรก

  1. รีบนำเข้าที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทสะดวก อาจเปิดพัดลมหรือใช้พัดช่วย เพื่อพัดให้เกิดความเย็น
  2. ให้นอนราบ ยกเท้าสูงสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  3. หากผู้ป่วยอาเจียน ให้นอนตะแคงจนหายจากอาเจียนแล้วค่อยนอนหงาย
  4. คลายเสื้อให้หลวม เช็ดตัวด้วยน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดา ด้วยการเช็ดย้อนรูขุมขน
  5. ให้ดื่มน้ำหรือเกลือแร่
  6. ในระหว่างปฐมพยาบาลข้อที่ 1 - 5 ให้คนอื่นติดต่อรถพยาบาลหรือโทร 1669 เพื่อนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

 

การป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งที่มีอากาศร้อนจัด
  2. จิบน้ำบ่อย ๆ หรือดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่อากาศร้อน
  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดี และป้องกันแสงแดดได้
  4. หากออกกำลังกาย ต้องดื่มน้ำให้เยอะ
  5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่เสี่ยงต่อการขาดน้ำ เช่น กาแฟ และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  6. อย่าให้เด็กและผู้สูงอายุอยู่ในรถยนต์ที่ปิดสนิทตามลำพัง

 

 

ข้อมูลโดย : พญ.กิตติยา ศรีเลิศฟ้า | แพทย์อายุรกรรม ฝ่ายการแพทย์ AIA
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป